News

March 29, 2023

คำสั่งจากกระทรวงอุตสาหกรรม ออกคำสั่งให้ ไม่ให้มีการผลิต นำเข้า และครอบครอง สาร PFOA ทั้งหมด 8 ตัว หากมีการ ผลิต นำเข้า และครอบครอง


วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตาม ประกาศบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2565 บัญชี 5.1 ดังนี้

1. ลำดับที่ 534 กรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค(perfluorooctanoic acid)

2. ลำดับที่ 535 แอมโมเนียมเปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอต (ammonium perfluorooctanoate)

3. ลำดับที่ 536 โซเดียมเปอร์ ฟลูออโร ออกตะโนเอต ( sodium perfluorooctanoate)

4. ลำดับที่ 537 โพแทสเซียมเปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอต (potassium perfluorooctanoate)

5. ลำดับที่ 538 ซิลเวอร์เปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอต (Silver Perfluorooctanoate)

6. ลำดับที่ 539 เปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิลฟลูออไรด์ (Perfluorooctanoyl Fluoride)

7. ลำดับที่ 540 เมทิลเปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอต (methyl perfluorooctanoate)

8. ลำดับที่ 541 เอทิลเปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอต (ethyl perfluorooctanoate)

 

ในกรณีที่เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าวให้ปฎิบัติดังนี้

 1. แจ้งปริมาณ วัตถุอันตรายคงเหลือต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแบบรายงานปริมาณวัตถุอันตรายและ แผนการทำลายวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (วอ./อก. 33)

2. จัดการเพื่อให้มีการทำลาย วัตถุอันตราย โดยการเผาทำลายในเตาเผาเฉพาะของเสียอันตรายที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และให้ส่งหลักฐานการทำลายวัตถุอันตรายให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแบบการส่งหลักฐาน การทำลายวัตถุอันตราย (วอ./อก. 34) โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ในกรณีที่  ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งที่ให้ดำเนินการ สามารถอุทธรณ์หรือโต้แย้งเป็นหนังสือต่ออธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม ภายในสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป

การไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 วรรคสอง อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศฉบับเต็ม