News

June 20, 2019

พรบ. วัตถุอันตรายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมวัตถุอันตรายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562”


เนื่องด้วยพรบ. วัตถุอันตรายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมวัตถุอันตรายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562” มีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

 

  1. เปลี่ยนแปลงคำนิยาม คำว่า นำเข้า และ ส่งออก
  2. เพิ่มบทนิยาม คำว่า นำผ่าน นำกลับเข้ามา ส่งกลับออกไป ภาชนะบรรจุ โฆษณา ข้อความ ค่าเสียหายเบื้องต้น
  3. แก้ไข มาตราที่ 6 ให้มี คณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  4. แก้ไข มาตราที่ 7 โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
  5. เพิ่มข้อความ วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง
  6. ผู้นำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 ในแต่ละครั้งต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งแล้ว ให้ออกใบนำผ่านเพื่อเป็นหลักฐานการรับแจ้ง
  7. ผู้นำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ในแต่ละครั้งต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตแล้ว ให้ออกใบนำผ่านเพื่อเป็นหลักฐานการอนุญาต โดยให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบนำผ่านนั้น แต่ไม่ให้กำหนดเกิน 45 วันนับแต่วันที่ออกใบนำผ่าน ทั้งนี้ ผู้นำผ่านจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการนำเข้าและส่งออกวัตถุอันตรายที่เป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย วัตถุอันตรายที่นำผ่านต้องนำออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ตรวจปล่อยวัตถุอันตรายออกจากด่านศุลกากรที่เข้ามาในราชอาณาจักร
  8. แก้ไข มาตราที่ 44 การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือบางส่วน
  9. แก้ไข มาตราที่ 51 โดยเพิ่มรายละเอียด หลักเกณฑ์การโฆษณาวัตถุอันตราย
  10. แก้ไข มาตรา 20 ให้เพิ่ม หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในกรณีที่วัตถุอันตรายก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือสิ่งแวดล้อม และได้มีการทำประกันตามมาตรา โดยให้ผู้รับประกันภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากวัตถุอันตราย และให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐในการเข้าช่วยเหลือ เคลื่อนย้าย บำบัด บรรเทา หรือขจัดความเสียหายที่เกิดขึ้น
  11. ใบรับแจ้งการดำเนินการนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และ 3 ที่ออกตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (27 ตุลาคม 2562) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผ่านวัตถุอันตรายให้ถือว่าเป็นใบนำผ่านตามมาตรา 20/2 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าใบรับแจ้งหรือใบอนุญาต แล้วแต่กรณี จะสิ้นอายุ  พระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลมในกรณีที่คำขอใดมีข้อแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

 

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 นี้จะถูกบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันหลังประกาศ หรือวันที่ 27 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

รายละเอียดกฏหมาย สามารถเข้าได้ใน  “ประกาศฉบับเต็ม”

 

ประกาศฉบับเต็ม